วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

วิธี ดู ตำหนิ หลวง พ่อ เงิน วัด บาง คลาน พิมพ์ นิยม

                                        วิธี ดู ตำหนิ หลวง พ่อ เงิน วัด บาง คลาน พิมพ์ นิยม 
                                                                            ทั้ง พิมพ์ A B


รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน

 รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน จำแนกพิมพ์ออกเป็น ๒ แบบ
๑.พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
๒.พิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง

พิมพ์นิยมเป็นพระเทหล่อแบบช่อโดยต่อสายนำน้ำโลหะเข้าทางใต้ฐาน เมื่อโลหะเย็นตัวลงจึงตัดก้านชนวนใต้ฐานจึงมีรอยแต่งตะไบทุกองค์และในส่วนที่สำคัญ เช่น หน้าผาก โหนกแก้มจะมีความนูนอย่างชัดเจน ริ้วจีวรจะคมชัดอ่อนช้อย

จุดพิจารณาของพิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง คือ จะเห็นการวางมือซ้ายขวา ปลายมือทั้งสองไม่จรดเชื่อมต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ปรากฏนิ้วชี้รองรับและในริ้วจีวรด้านตรงปลายด้านซ้ายมือของหลวงพ่อ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

 การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

         จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมาก ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อเงิน

 การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ

          ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯ

         ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กร

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

ตำหนิ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก

ตำหนิ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก

1.พิมพ์นิยมทุกองค์ที่ก้นจะต้องมีรอยก้านชนวน
2.เนื้อนูนล้นเกินเนื่องจากการเทหล่อแบบโบราน
3.มีการแต่งด้วยตะไบลบคม บางองค์ที่ตะไบเรียบกลี้ยงอาจเห็นก้านชนวนไม่ชัดเจน

ประวัติ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเลและเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร


 ชาติกำเนิด

         หลวงพ่อเงิน เดิมท่านชื่อเงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับศุกร์เดือน 10 ปีมะโรง บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์

 หลวงพ่อเงิน ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้

คนที่ 1 ชื่อพรม ชาย

คนที่ 2 ชื่อทับ หญิง

คนที่ 3 ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย

คนที่ 4 ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)

คนที่ 5 ชื่อหล่ำ ชาย

คนที่ 6 รอด หญิง

          เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้หาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ 1 พรรษา

         ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ

 ประวัติวัดวังตะโก

          ท่านจึงได้ย้ายจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่งและปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ ได้สร้างกุฏิวิหารจนอุโบสถและเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ

          เพราะได้มีประชาชนให้ความเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาด เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ และมาขอเครื่องรางขอขลัง และขอให้หลวงพ่อได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย หลวงพ่อให้ความเมตตาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เหมือนกันทุกระดับชั้น

          โดยเฉพาะพวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา ได้พากันมาจอดเรือที่หน้าวัดหลวงพ่อเป็นประจำจะเพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์ ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณ(น้อย) เจ้าคณะอำเภอบางบุญนาค ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินอีกรูปหนึ่ง และพ่อพริ้ง เป็นครูซึ่งเป็นพ่อของเพื่อนของผู้เขียนเอง ที่จอดเรืออยู่หน้าวัดวังตะโก น้ำมนต์ของท่านมีประชาชนเอามาอาบได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควพิจิตรเก่ามิได้ขาดสาย (ผู้เขียนเกิดไม่ทันจึงต้องเขียนตามที่เขาเล่า)

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมทั้ง A B

มีเอกสารหนึ่ง เป็นลายมือของท่าน เขียนไว้ ในฐานะพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ศก 130 พอจะชี้ได้ว่า พ.ศ.2454 นั้น หลวงพ่อท่านยังมีชีวิตอยู่
แต่จากหลักฐานเอกสารบางเรื่อง เมื่อปี พ.ศ.2460 นั้น ท่านมรณภาพแล้ว
จึงพอจะสรุปได้ว่า หลวงพ่อเงิน มรณภาพระหว่างปี พ.ศ.2454 ถึงปี 2460 อายุพระเครื่องของท่าน ถึงวันนี้ จึงถือว่าเกินร้อยปี เข้าเกณฑ์อายุวัตถุโบราณ
“ตั้งหนึ่ง” กันที่อายุรูปหล่อหลวงพ่อเงินร้อยปี แล้วจึงมาพิจารณา รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม พิมพ์ B องค์ในคอลัมน์วันนี้ เนื้อโลหะเก่าถึงอายุ คราบ ฝ้าสนิม สวยสมบูรณ์ สนิทตา
ใช้หลักเซียน ชายจีวรสั้นเส้นสุดท้ายด้านซ้ายเป็นก้อน (เกือบ) กลม วงการถือเป็นพิมพ์นิยม B (ถ้าเป็นพิมพ์ A แตกเป็นสองเส้น) ทั้งเส้นใต้ฝ่ามือติดค่อนชัดเจน (พิมพ์ Aไม่ติด)
หลักที่ว่านี้ ถือเป็นทีเด็ดเคล็ดลับของคนในวงการ เพราะเดิมที เท่าที่ถ่ายภาพกันลงหนังสือ ก็แล้วแต่ใครจะชี้ เช่นเคยชี้ว่า ระหว่างร่องปากมีฟันสองสามซี่
ต่อๆมาก็มีความพยายามจะชี้ตำหนิ เส้นแตกเล็กด้านซ้ายบนแผ่นสังฆาฏิ ชี้หัวแม่มือไม่ชนกัน (ถ้าชนกันเก๊ ว่างั้น) นักเลงพระนอกสนาม...พยายามตาม ก็ตามไม่ทัน
ผมอยากจะประชด หลักชี้ขาดพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน เหมือนหลักคนตาบอดคลำช้าง ใครคลำตรงไหน ก็เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
แต่หลักเซียนเหนือเซียนจริงๆ เขาดูภาพรวมไปทั้งองค์ อย่างองค์วันนี้ เซียนใหญ่ดูแค่ภาพจากมือถือ ยังไม่ส่องดูองค์จริง ถึงกับออกปากถามราคา
พิมพ์นิยม ทั้ง A B เป็นพระที่ปั้นหุ่นเทียน สูตรเดียวกับ พระกริ่งสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เพียงแต่ซับซ้อนน้อยกว่า (เพราะไม่ต้องเผื่อเม็ดกริ่ง) พอกดินที่หุ่นเทียนแล้วติดช่อเลย
หล่อเสร็จแล้วช่างก็ตัดช่อแต่งเบามือ ก็เหลือเค้าช่อกลม แต่งหนักมือก็เหลือแต่รอยตะไบ
ธรรมชาติของพระหล่อโบราณ องค์ที่ติดเต็มสมบูรณ์ ก็ไม่ต้องทำอะไร องค์ที่มีปุ่มปมเกิน ก็ตะไบออก ส่วนที่ขาดก็มีการ “แต่งบ้าง”
ส่วนที่เป็นหลุมบ่อเล็กน้อย ก็ปล่อยไว้ ให้ดูไปตามธรรมชาติพระหล่อโบราณ คราบฝ้าสีน้ำตาลแก่ตามซอกลึก เนื้อดินเม็ดทรายที่พอกหุ่นเหลือติดให้ดูบ้าง เป็นตัวช่วยชี้ที่สำคัญ
แต่ทั้งหลายทั้งปวง รวมอยู่ที่ได้ดูรูปหล่อหลวงพ่อเงินของแท้ ให้คุ้นตา ขนาดพระของแท้...ก็ต้องพิจารณา เก๊ใหม่ขนาดใกล้เคียง แต่เก๊เก่า เนื้อดีคราบผิวดี แต่ขนาดมักย่อมเยา ก็ต้องแยกออกให้ขาด
แต่ความที่เนื้อโลหะหลวงพ่อเงิน เป็นพระ “สกุลชาวบ้าน” ไม่ได้ผสมตามสูตรนวโลหะ เช่นตำรับกริ่งวัดสุทัศน์ ของแท้จึงเป็นแค่เนื้อทองเหลืองเก่า...เมื่อใช้สึกช้ำมีแววดิบด้าน ปรากฏตามุ้งให้เห็นบ้างเท่านั้น
ไม่ใช่สึกแบบเลี่ยนๆ เป็นมันวาวเหมือนของเก๊ทั่วไป
ความจริง รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมทั้ง A B ยังมีตำหนิพิมพ์อีกหลายจุด ที่เซียนเขาเชื่อไว้เหมือนๆกัน ราคาพระแท้เกินล้านไปไกล ของเก๊พัฒนามาก ดูตาเดียวจ่ายเงินก็พัง
ถ้ารักพระอยากใช้พระด้วย อยากเก็บเป็นเงินออมด้วย ตามกระแสตลาด วิธีเดียว ที่ปลอดภัย แพงจับใจแค่ไหนก็คือการซื้อจากเซียน
ส่วนเมื่ออยากขาย จะขายได้หรือไม่ ค่อยไปไล่เลียงถามเซียนเอากันเอง.
คัดลอกบทความมาจาก https://www.thairath.co.th/content/1200770

ชี้ตำหนิ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา

ชี้ตำหนิ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สามชาย
การที่เราจะดู หรือหลักการดูเบื้องต้น เก๊ทำได้ไม่ดี หรือ เหมือนคือ ให้ดูธรรมชาติของพิพม์ ดูสัดส่วน

ส่วนมากเส้นชายขององค์หลวงพ่อเงิน ไม่ติดกัน ทางซ้ายมือ

ถ้าเป็นพระหล่อ เส้นสายต่างๆ จะต้องคม ตึง และกระชับ ไม่ย้วย ยาน เมื่อเส้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเส้นจะตึง ไม่ย้วยเนื่องจากการถอดพิมพ์

การดูเศียร หัวต้องมีความแป้นโหนก ไม่ใหญ่มากหรือน้อยจนเกินไป

ลำตัว จะต้องกลมกระชับ โค้งสวยงามไม่ย้วย บานผิดรูปตำแหน่ง

การหล่อพระหลวงพ่อเงิน  เป็นการเทเบ้าหล่อทีล่ะองค์

สังเกตุดีมีรอยการประกบหุ่นเทียน จะมีรอยตะเข็บข้างองค์พระ

การเข้าเป้าดินจะเข้าทีล่ะองค์ รวมถึงใต้ฐานเหลือไว้เพียงเทฉนวน