วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เจาะลึก ด้านหน้ารูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม

เจาะลึก ด้านหน้ารูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม 


1.หน้าผากโหนกนูนเหมือนซาลาเปา  ศีรษะบนบางองค์กลม(เศียรกลม) บางองค์ด้านบนแบน (เศียรบาตร)
2.ตำแหน่งตาช้ายสูงกว่าตาขวา และตาช้ายไม่ได้วางอยู่    ในระนาบเดียวกัน ให้สังเกตตาขวาจะสูงกว่าตาช้าย
3.ปลายจมูกใหญ่ ปลายจมูกข้างขวาองค์พระจะใหญ่ขึ้นและปิดมาทางขวา
4.ใบหูใหญ่ ในบางองค์ใบหูที่ติดชัดเจน ใบหูจะใหญ่เป็นวง
และจะโค้งออกจากองค์พระ
5.ปากอ้ายิ้ม บางองค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นเสี้ยนขนหนู คล้ายๆฟันปรากฎขึ้น
6.เส้นสังฆาฎิมีรอยเว้าเล็กน้อย ขอบสังฆาฎิช่วงกลางมีรอย
เว้าเล็กน้อย ถือเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งของพิมพ์นิยม
7.เนื้อหน้าอกด้านขวามีกล้ามเนื้อนูนแต่ง (ไม่แบนราบ) เนื้อหน้าอกด้านขวาด้านบน มีเนื้อนูนขึ้นมา ไม่แบนราบ พระปลอมส่วนใหญ่จะแบนราบ
8.เส้นร่องจีวรด้านขวามือส่วนมาก จะติดชัดเจนสามเส้นและในเส้นที่สี่ จะไม่ค่อยติดชัดเจนเท่าไหร่นัก ในองค์ที่ติดชัดเจนเส้นจีวรก็จะติดไม่ยาวนักมักจะสั้นกว่าเส้นอื่นๆ
9.มีเนื้อนูนย้อยใต้ข้อมือขวา ใต้ข้อมือขวามีเนื้อนูนย้อยลงมาทุกองค์ ชึ้งที่จริงการออกแบบของช่างให้เป็น แนวเส้นจีวรที่พาดผ่านมือช้ายนั่นเอง
10.จุดสังเกตใต้หัวเข่าขวาในบางองค์ ส่วนมากจะมีเนื้อนูนย้อยลงมา(มีบ้างไม่มีบ้าง)ขึ้นอยู่กับการหล่อแต่ละองค์
11.นิ้วมือไม่เชื่อมชนกัน แต่มีรอยคอดเว้าเล็กน้อย บางองค์อาจมีเนื้อล้นออกมาทำให้ดูเหมือนนิ้วชนกัน แต่ต้องพิจารณาจุดตำหนิอื่นๆมารวมกันด้วย
12.ฐานส่วนมากจะมีบาง หนา ไม่เท่ากันขึ้นอยูกับการหล่อพระแต่ละองค์ และ ผิวเนื้อพระอาจจะเป็นเนื้อทองเหลือง หรือ เนื้อแก่ทอง แก่เงิน แก่นาค ขึ้นอยู่กับแร่ของแต่ล่ะชนิดที่นำมาผสม ในการหล่อพระแต่ล่ะองค์
13.พิมพ์นิยมจะแยกออกเป็นสองบล็อค คือ บล็อกที่มีมือติดชัด และ บล็อคที่มีมือติดไม่ชัด สังเกตได้ตามรูปภาพด้านบน
14.เนื้อเกินเนื้อแตกแยกตัว เป็นหลุมเป็นบ่อ ชึ้งเป็นธรรมชาติของการหล่อพระสมัยเก่า ไม่เหมือนพระปลอมที่ทำปั้มขึ้นมามักจะไม่ปรากฎสิ่งนี้ให้เห็น
15.เท้าช้ายเรียวอ่อนพลิ้ว เรียวบางแหลมคม เป็นธรรมชาติ
16.ในบางออกจะมีติ่งจุด เนื้อเกินปรากฎให้เห็นชึ้งเกิดจากแม่พิมพ์ และ การหล่อพระในแต่ละองค์
17.เท้าขวาในบางองค์ที่ติดชัดเจน จะเห็นหัวแม่เท้าปรากฎให้เห็น
18.ปลายสังฆาฎิเว้าเข้าในเล็กน้อยทั้งสองมุม ดูคล้ายดอกจิกทำให้ปลายสังฆาฏิไม่ตัดเป็นเส้นตรง
19.ชายจีวรขวางๆ อ่อนพริ้วเป็นธรรมชาติ องค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นจีวรนับได้ประมาณหกเส้น

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ตำหนิรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่น 1

ตำหนิรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่น 1
1.คอตันล่ำใหญ่
2.ใบหูข้างขวาองค์พระจะยาวกว่าข้าง
3.เส้นสังฆาฎิชัดเจน
4.ไหล่แขนก้ามมือข้างขวาอวบหนานูน
5.จีวรเส้นที่สองและสามติดกัน
6.เส้นริ้วจีวรลดหลั่นเป็นธรรมชาติ
7.เส้นร่องสังฆาฏิชัดเจนเป็นธรรมชาติ
8.เนื้อเกิน รอยแต่ง เนื้อหล่อแบบเป็นธรรมชาติ
9.ลอยจุดแตกแยกเสี้ยนขนหนู ต่างๆมีธรรมชาติให้เห็น

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ประวัติการหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน

ประวัติการหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน


          เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน 2 องค์ ด้วยกัน ตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

องค์ที่ 1 ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม

องค์ที่ 2 ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ

 ประวัติท้ายน้ำ

          เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลา วิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโก และหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กัน กับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มี

         ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโก แล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำเหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆ พิมพ์ เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโด ท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเล ที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่

 พระครูวัฏะสัมบัญสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน

          กาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไป แต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมาก ท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็ก แล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุกเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัดท้ายน้ำ

 พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ

          ต่อมาพระอาจารย์ชุ่ม หรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่ง เป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร

 ข้อระวัง

         พระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่ม เวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัว ช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำ ผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ

         ผู้เขียนได้พบเห็นมาหลายรายแล้วก็อดสงสารไม่ได้เพราะฉะนั้น เรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัด ปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญาราม และอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว

          สำหรับหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโกกับหลายพ่อเงิน วัดท้ายน้ำบางพิมพ์ก็เหมือนกัน แต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกัน และไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน

          ผู้เขียนขอให้ข้อคิดและแนะนำ แก่ผู้เสาะแสวงหาหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก หลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำ ตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม มีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้ เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิตอันมั่นคง โดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระ ท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตร และท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วย กิตติศัพท์ของท่านเลื่องลือขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจดใต้จากตะวันออกจดตะวันตกมาเนิ่นนานแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ ศรัทธา ปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุกๆ คนเสมอมาเพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุกๆ อย่าง ถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นศิริมงคล และแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคลนามอยู่แล้ว โดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ คนจะเคารพบูชาและหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมาก เมื่อมีผู้ใดมาขอเช่าในราคาแพง ผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ยอมให้เพราะเป็นของที่หาได้ยากยิ่ง เปรียบเสมือนหนึ่งแก้วสารพัดนึกก็ว่าได้

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน (รูปหล่อ หลวงพ่อเงิน)

ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน (รูปหล่อ หลวงพ่อเงิน)


         ท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ขึ้นเป็นรุ่นแรกครั้งที่ 1 เนื้อทองเหลืองรูปองค์พระจะขรุขระผิวไม่เรียบร้อย ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพิมพ์ขี้ตา คณะกรรมการวัดได้ให้เช่าบูชาองค์ละ 1 บาท

 รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา

ครั้งที่ 2 สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน โดยให้ช่างแก้พิมพ์ให้สวยงามขึ้น จึงเรียกว่าพิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ

          เมื่อรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตาและรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม ได้จำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้ที่เคารพนับถือเลื่อมใสต่อหลวงพ่อ ต่างก็ได้รับความนิยมชมชอบ สำหรับผู้ชายสำหรับผู้หญิงและเด็กๆ ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้รูปหล่อทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ 3เป็นเหรียญหล่อไข่ปลาเรียกว่าจอบใหญ่กับเหรียญหล่อจอบเล็ก เพื่อให้ผู้หญิงและเด็กๆ ได้มีโอกาสเช่าบูชาให้ติดตัวไปได้ ปรากฏว่าเหรียญไข่ปลาและเหรียญจอบเล็กจำหน่ายดีมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอยองค์ เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงอยู่ในตัวเมื่อเช่ารับจากหลวงพ่อมาแล้วก็คล้องคอได้เลย ปัจจุปัน เหรียญหล่อจอบเล็ก หลวงพ่อเงิน และ เหรียญหล่อจอบใหญ่  หลวงพ่อเงิน มีราคาเล่นหาสูงมาก

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

พระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ มีด้วยกัน 7 วัด

พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆ มีด้วยกัน 7 วัด


          1. วัดวังตะโก หลวงพ่อเงินสร้าง มีทุกๆ พิมพ์ พระอาจารย์แจ๊ะสร้างพิมพ์พระผงแบบจอบเล็ก

          2. วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อเงินสร้างมีทุกๆ พิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้างมีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับมีตัว ช. เพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น

          3. วัดหลวง หลวงพ่อเงินหอมสร้างมีพระพิมพ์ต่างๆ ประเภทเนื้อดินล้วน มีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สังกัจจายน์

          4. วัดขวาง หลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์

          5. วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม ไข่ปลา จอบเล็ก และเนื้อดินมีทั้งนั่ง,นอน,ยืน

          6. วัดบางมูลมาก พระครูพิทักษ์ศัลคุณ (น้อย) กับหลวงพ่อพิธ สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบใหญ่ ไข่ปลา จอบเล็ก

          7. วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด)สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วมีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยมเนื้อดินด้วย

          หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา และโรคริดสีดวงทวาร เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 การมรณภาพของหลวงพ่อเงินครั้งนั้น นับว่าวัดวังตะโก-วัดท้ายน้ำ-ชาวพิจิตรและศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนคนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ได้รับความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง นับเป็นการสูญเสียพระคณาจารย์ที่ยิ่งใหญ่และพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอันมีความหมายยิ่งรูปหนึ่ง

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

วิธี ดู ตำหนิ หลวง พ่อ เงิน วัด บาง คลาน พิมพ์ นิยม

                                        วิธี ดู ตำหนิ หลวง พ่อ เงิน วัด บาง คลาน พิมพ์ นิยม 
                                                                            ทั้ง พิมพ์ A B


รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน

 รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม วัดบางคลาน จำแนกพิมพ์ออกเป็น ๒ แบบ
๑.พิมพ์นิยมมีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายชิด
๒.พิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง หรือพิมพ์ชายห่าง

พิมพ์นิยมเป็นพระเทหล่อแบบช่อโดยต่อสายนำน้ำโลหะเข้าทางใต้ฐาน เมื่อโลหะเย็นตัวลงจึงตัดก้านชนวนใต้ฐานจึงมีรอยแต่งตะไบทุกองค์และในส่วนที่สำคัญ เช่น หน้าผาก โหนกแก้มจะมีความนูนอย่างชัดเจน ริ้วจีวรจะคมชัดอ่อนช้อย

จุดพิจารณาของพิมพ์นิยมไม่มีมือรองนั่ง คือ จะเห็นการวางมือซ้ายขวา ปลายมือทั้งสองไม่จรดเชื่อมต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ปรากฏนิ้วชี้รองรับและในริ้วจีวรด้านตรงปลายด้านซ้ายมือของหลวงพ่อ

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

 การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

         จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียว เมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน 11 ของทุกๆ ปี หลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนาน ได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมาก ท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆ ขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อเงิน

 การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ

          ยังมีข้าราชการ พ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโก และหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้ มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้น แล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่อง ไปขายที่กรุงเทพฯ

         ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำ แล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กร

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

ตำหนิ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก

ตำหนิ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก

1.พิมพ์นิยมทุกองค์ที่ก้นจะต้องมีรอยก้านชนวน
2.เนื้อนูนล้นเกินเนื่องจากการเทหล่อแบบโบราน
3.มีการแต่งด้วยตะไบลบคม บางองค์ที่ตะไบเรียบกลี้ยงอาจเห็นก้านชนวนไม่ชัดเจน

ประวัติ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน วัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ เทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเลและเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร


 ชาติกำเนิด

         หลวงพ่อเงิน เดิมท่านชื่อเงิน เมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับศุกร์เดือน 10 ปีมะโรง บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์

 หลวงพ่อเงิน ท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้

คนที่ 1 ชื่อพรม ชาย

คนที่ 2 ชื่อทับ หญิง

คนที่ 3 ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย

คนที่ 4 ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)

คนที่ 5 ชื่อหล่ำ ชาย

คนที่ 6 รอด หญิง

          เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้หาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ 1 พรรษา

         ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ

 ประวัติวัดวังตะโก

          ท่านจึงได้ย้ายจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย 3 กิ่งและปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง 3 กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ ได้สร้างกุฏิวิหารจนอุโบสถและเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ

          เพราะได้มีประชาชนให้ความเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาด เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ และมาขอเครื่องรางขอขลัง และขอให้หลวงพ่อได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย หลวงพ่อให้ความเมตตาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เหมือนกันทุกระดับชั้น

          โดยเฉพาะพวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา ได้พากันมาจอดเรือที่หน้าวัดหลวงพ่อเป็นประจำจะเพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์ ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณ(น้อย) เจ้าคณะอำเภอบางบุญนาค ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินอีกรูปหนึ่ง และพ่อพริ้ง เป็นครูซึ่งเป็นพ่อของเพื่อนของผู้เขียนเอง ที่จอดเรืออยู่หน้าวัดวังตะโก น้ำมนต์ของท่านมีประชาชนเอามาอาบได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควพิจิตรเก่ามิได้ขาดสาย (ผู้เขียนเกิดไม่ทันจึงต้องเขียนตามที่เขาเล่า)

รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมทั้ง A B

มีเอกสารหนึ่ง เป็นลายมือของท่าน เขียนไว้ ในฐานะพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ศก 130 พอจะชี้ได้ว่า พ.ศ.2454 นั้น หลวงพ่อท่านยังมีชีวิตอยู่
แต่จากหลักฐานเอกสารบางเรื่อง เมื่อปี พ.ศ.2460 นั้น ท่านมรณภาพแล้ว
จึงพอจะสรุปได้ว่า หลวงพ่อเงิน มรณภาพระหว่างปี พ.ศ.2454 ถึงปี 2460 อายุพระเครื่องของท่าน ถึงวันนี้ จึงถือว่าเกินร้อยปี เข้าเกณฑ์อายุวัตถุโบราณ
“ตั้งหนึ่ง” กันที่อายุรูปหล่อหลวงพ่อเงินร้อยปี แล้วจึงมาพิจารณา รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม พิมพ์ B องค์ในคอลัมน์วันนี้ เนื้อโลหะเก่าถึงอายุ คราบ ฝ้าสนิม สวยสมบูรณ์ สนิทตา
ใช้หลักเซียน ชายจีวรสั้นเส้นสุดท้ายด้านซ้ายเป็นก้อน (เกือบ) กลม วงการถือเป็นพิมพ์นิยม B (ถ้าเป็นพิมพ์ A แตกเป็นสองเส้น) ทั้งเส้นใต้ฝ่ามือติดค่อนชัดเจน (พิมพ์ Aไม่ติด)
หลักที่ว่านี้ ถือเป็นทีเด็ดเคล็ดลับของคนในวงการ เพราะเดิมที เท่าที่ถ่ายภาพกันลงหนังสือ ก็แล้วแต่ใครจะชี้ เช่นเคยชี้ว่า ระหว่างร่องปากมีฟันสองสามซี่
ต่อๆมาก็มีความพยายามจะชี้ตำหนิ เส้นแตกเล็กด้านซ้ายบนแผ่นสังฆาฏิ ชี้หัวแม่มือไม่ชนกัน (ถ้าชนกันเก๊ ว่างั้น) นักเลงพระนอกสนาม...พยายามตาม ก็ตามไม่ทัน
ผมอยากจะประชด หลักชี้ขาดพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน เหมือนหลักคนตาบอดคลำช้าง ใครคลำตรงไหน ก็เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
แต่หลักเซียนเหนือเซียนจริงๆ เขาดูภาพรวมไปทั้งองค์ อย่างองค์วันนี้ เซียนใหญ่ดูแค่ภาพจากมือถือ ยังไม่ส่องดูองค์จริง ถึงกับออกปากถามราคา
พิมพ์นิยม ทั้ง A B เป็นพระที่ปั้นหุ่นเทียน สูตรเดียวกับ พระกริ่งสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เพียงแต่ซับซ้อนน้อยกว่า (เพราะไม่ต้องเผื่อเม็ดกริ่ง) พอกดินที่หุ่นเทียนแล้วติดช่อเลย
หล่อเสร็จแล้วช่างก็ตัดช่อแต่งเบามือ ก็เหลือเค้าช่อกลม แต่งหนักมือก็เหลือแต่รอยตะไบ
ธรรมชาติของพระหล่อโบราณ องค์ที่ติดเต็มสมบูรณ์ ก็ไม่ต้องทำอะไร องค์ที่มีปุ่มปมเกิน ก็ตะไบออก ส่วนที่ขาดก็มีการ “แต่งบ้าง”
ส่วนที่เป็นหลุมบ่อเล็กน้อย ก็ปล่อยไว้ ให้ดูไปตามธรรมชาติพระหล่อโบราณ คราบฝ้าสีน้ำตาลแก่ตามซอกลึก เนื้อดินเม็ดทรายที่พอกหุ่นเหลือติดให้ดูบ้าง เป็นตัวช่วยชี้ที่สำคัญ
แต่ทั้งหลายทั้งปวง รวมอยู่ที่ได้ดูรูปหล่อหลวงพ่อเงินของแท้ ให้คุ้นตา ขนาดพระของแท้...ก็ต้องพิจารณา เก๊ใหม่ขนาดใกล้เคียง แต่เก๊เก่า เนื้อดีคราบผิวดี แต่ขนาดมักย่อมเยา ก็ต้องแยกออกให้ขาด
แต่ความที่เนื้อโลหะหลวงพ่อเงิน เป็นพระ “สกุลชาวบ้าน” ไม่ได้ผสมตามสูตรนวโลหะ เช่นตำรับกริ่งวัดสุทัศน์ ของแท้จึงเป็นแค่เนื้อทองเหลืองเก่า...เมื่อใช้สึกช้ำมีแววดิบด้าน ปรากฏตามุ้งให้เห็นบ้างเท่านั้น
ไม่ใช่สึกแบบเลี่ยนๆ เป็นมันวาวเหมือนของเก๊ทั่วไป
ความจริง รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมทั้ง A B ยังมีตำหนิพิมพ์อีกหลายจุด ที่เซียนเขาเชื่อไว้เหมือนๆกัน ราคาพระแท้เกินล้านไปไกล ของเก๊พัฒนามาก ดูตาเดียวจ่ายเงินก็พัง
ถ้ารักพระอยากใช้พระด้วย อยากเก็บเป็นเงินออมด้วย ตามกระแสตลาด วิธีเดียว ที่ปลอดภัย แพงจับใจแค่ไหนก็คือการซื้อจากเซียน
ส่วนเมื่ออยากขาย จะขายได้หรือไม่ ค่อยไปไล่เลียงถามเซียนเอากันเอง.
คัดลอกบทความมาจาก https://www.thairath.co.th/content/1200770

ชี้ตำหนิ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา

ชี้ตำหนิ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สามชาย
การที่เราจะดู หรือหลักการดูเบื้องต้น เก๊ทำได้ไม่ดี หรือ เหมือนคือ ให้ดูธรรมชาติของพิพม์ ดูสัดส่วน

ส่วนมากเส้นชายขององค์หลวงพ่อเงิน ไม่ติดกัน ทางซ้ายมือ

ถ้าเป็นพระหล่อ เส้นสายต่างๆ จะต้องคม ตึง และกระชับ ไม่ย้วย ยาน เมื่อเส้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเส้นจะตึง ไม่ย้วยเนื่องจากการถอดพิมพ์

การดูเศียร หัวต้องมีความแป้นโหนก ไม่ใหญ่มากหรือน้อยจนเกินไป

ลำตัว จะต้องกลมกระชับ โค้งสวยงามไม่ย้วย บานผิดรูปตำแหน่ง

การหล่อพระหลวงพ่อเงิน  เป็นการเทเบ้าหล่อทีล่ะองค์

สังเกตุดีมีรอยการประกบหุ่นเทียน จะมีรอยตะเข็บข้างองค์พระ

การเข้าเป้าดินจะเข้าทีล่ะองค์ รวมถึงใต้ฐานเหลือไว้เพียงเทฉนวน

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

หลวงพ่อเงิน รุ่นแรก

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก สุดยอดปรารถนา ของคนไทย ทั้งศักดิ์สิทธิ์ และน่าศรัทธา ผู้เขียนก็ยังไม่ได้เจอหรือสัมผัสรุ่นแรก แต่บุญที่ได้ทำมาคงมีสักวัน ที่ได้เชยชม เอารุ่นหลังๆไปบูชาก่อน ก็แทนกันได้ ถึงแม้กระแสโลกจะผ่านมาสักเพียงใด จะเจริญรุดหน้าไปเพียงใด แต่ความศรัทธา และการเคารพในครูบาอาจาร์ย พระพุทธศาสนา ยังต้องอยู่ต่อไปตราบเท่าฟ้าดินสลาย ขอ ให้ความรู็ในการศึกษา รูปหล่อเหรียญ ต่างๆของหลวงพ่อเงินจะได้ประโยชน์แด่ผู่อ่าน ผิดพลาดประการใดโปรดให้อภัย